หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2568

หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568 ได้ออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษา สามารถประยุกต์ทฤษฎี ความรู้ และหลักการวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อวางแผน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ สามารถระบุขั้นตอนการออกแบบ ทดสอบ ติดตั้ง ตรวจ ประเมิน และซ่อมบำรุงเครื่องมือทางการแพทย์ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและกระบวนการที่ตอบสนองต่อความต้องการทางการแพทย์อุตสาหกรรมหรือเชิงพาณิชย์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สามารถใช้ทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนางานวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ สามารถสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม นวัตกรรม ในบริบททางสังคม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพซึ่งแสดงออกถึงภาวะผู้นำและผู้ตาม สอดคล้องกับหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และสามารถระบุแหล่งข้อมูลการแสวงหาความรู้ที่ทันสมัย และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
(วิศวกรรมชีวการแพทย์)
ชื่อย่อ : วศ.บ.
(วิศวกรรมชีวการแพทย์)
หลักสูตร : ระดับปริญญาตรี 4 ปี
(ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต)

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568 ได้ออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษา สามารถประยุกต์ทฤษฎี ความรู้ และหลักการวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อวางแผน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ สามารถระบุขั้นตอนการออกแบบ ทดสอบ ติดตั้ง ตรวจ ประเมิน และซ่อมบำรุงเครื่องมือทางการแพทย์ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและกระบวนการที่ตอบสนองต่อความต้องการทางการแพทย์อุตสาหกรรมหรือเชิงพาณิชย์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ สามารถใช้ทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนางานวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ สามารถสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม นวัตกรรม ในบริบททางสังคม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพซึ่งแสดงออกถึงภาวะผู้นำและผู้ตาม สอดคล้องกับหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และสามารถระบุแหล่งข้อมูลการแสวงหาความรู้ที่ทันสมัย และวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สถานที่จัดการเรียนการสอน

  • ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • หน่วยงานอื่น ๆ ภายนอกราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) วิศวกรชีวการแพทย์ หรือวิศวกรการแพทย์ โดยสามารถออกแบบ อุปกรณ์ เครื่องมือและระบบของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือรักษาโรคของแพทย์ได้
2) นักวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา วิธีหรืออุปกรณ์ หรือเครื่องมือ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำหรับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่าง ๆ
3) วิศวกร เพื่อผลิต ขาย ซ่อมบำรุง ติดตั้ง และวิจัยและพัฒนาในกิจการที่ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ อวัยวะเทียม รวมถึงงานพัฒนาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยา
4) เจ้าของกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตและ /หรือ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับวิศวกรรม
ชีวการแพทย์

จุดเด่นของหลักสูตร

1) สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดําริ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนาชีววัตถุ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

2) มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยความรู้และศักยภาพในการใช้ทักษะด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในการออกแบบ พัฒนา ผลิต ติดตั้ง บำรุงรักษา และใช้งานอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์

3) บัณฑิตมีศักยภาพในการผลิตผลงานวิจัย ตามหลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ และชีวการแพทย์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถวิเคราะห์ปัญหา รวบรวมและประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งมีศักยภาพเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาที่สูงขึ้นในสาขาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

4) มีการพัฒนาและวางระบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ โดยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชา ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และธุรกิจเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ เป็นผู้ประกอบการหรือบริหารจัดการธุรกิจ

5) เป็นสาขาที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของตลาดอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาล หน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D) ทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างวิศวกรและบุคลากรทางการแพทย์ หรือวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1) เป็นนักเรียนไทย

2) ต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์  

3) อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และไม่เกิน 21 ปี บริบูรณ์ (นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร)

4) เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ สุขภาพจิตสมบูรณ์ และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน

5) ไม่เป็นผู้มีความพิการทางสายตา ดังนี้
🔹ตาบอดทั้งสองข้างหรือตาบอดจนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
🔹ตาบอดสีอันเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการปฏิบัติงาน

6) ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่ในกรณีความผิดอันกระทำ โดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ

7) เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย และรับรองต่อราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปอย่างเคร่งครัดทุกประการ

คุณสมบัติเฉพาะ

🔶รอบที่ 1 โครงการเพชรจุฬาภรณ์ (การรับด้วยแฟ้ม Portfolio) 13 คน

✅กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (สายวิทย์-คณิต)
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPAX) ≥ 3.25
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) วิชาภาษาอังกฤษ ≥ 3.00
✅ผลการทดสอบ (TGAT) รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
✅ผลการทดสอบ (TPAT3 30) คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
✅มีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเรียงความตามหัวข้อที่กำหนด
✅(ถ้ามี) ผลสอบ MU-ELT, CU-TEP, TU-GET, TOEIC, TOELT หรือ IELTS จะพิจารณาเป็นพิเศษ

🔶รอบที่ 2 โครงการปณิธานจุฬาภรณ์ (การรับแบบ Quota) 12 คน

✅กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (สายวิทย์-คณิต) ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPAX) ≥ 3.25
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) วิชาภาษาอังกฤษ ≥ 3.00
✅ผลการทดสอบ (TGAT) รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
✅ผลการทดสอบ (TPAT3 30) คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
✅มีผลการทดสอบ A-level (คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ) รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
✅(ถ้ามี) ผลสอบ MU-ELT, CU-TEP, TU-GET, TOEIC, TOELT หรือ IELTS จะพิจารณาเป็นพิเศษ

🔶รอบที่3 โครงการศรัธทาจุฬาภรณ์ (การรับแบบ Admission) 5 คน

✅กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (สายวิทย์-คณิต)
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPAX) ≥ 3.25
✅คะแนนสะสมเฉลี่ย (GPA) วิชาภาษาอังกฤษ ≥ 3.00
✅ผลการทดสอบ (TGAT) รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
✅ผลการทดสอบ (TPAT3 30) คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
✅มีผลการทดสอบ A-level (คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ) รวมทุกรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
✅(ถ้ามี) ผลสอบ MU-ELT, CU-TEP, TU-GET, TOEIC, TOELT หรือ IELTS จะพิจารณาเป็นพิเศษ

เกณฑ์การพิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และเข้าศึกษา

คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ จะพิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์จากผู้สมัครที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ และพิจารณาจากคะแนนเอกสารการสมัคร คะแนนสอบสัมภาษณ์ และนำมาประมวลผลคะแนนรวมจากมากไปหาน้อย โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

รอบการรับสมัครเกรดเฉลี่ยสะสมแฟ้มสะสมงานTGATTPATA-levelสอบสัมภาษณ์
รอบที่ 13.2540202020
รอบที่ 23.2520303020
รอบที่ 33.2520304010

ปีการศึกษา 2568
รับนักศึกษา จำนวน 33 คน แบ่งเป็น 3 รอบ

รอบที่ 1 โครงการเพชรจุฬาภรณ์
(การรับด้วยแฟ้ม Portfolio)       
จำนวน   13  คน

รับสมัคร วันที่ 1 ธันวาคม 2567 – 1 มกราคม 2568
สมัครออนไลน์ >> https://reg.cra.ac.th/cra_erp_edu/admission

รอบที่ 2 โครงการปณิธานจุฬาภรณ์
(การรับแบบโควตา Quota)
จํานวน  12 คน

รับสมัคร วันที่ 1 – 31 มีนาคม 2568          
สมัครออนไลน์ >> https://reg.cra.ac.th/cra_erp_edu/admission

รอบที่ 3 โครงการศรัทธาจุฬาภรณ์
(การรับแบบ Admission)       
จำนวน   5  คน

รับสมัคร วันที่ 6 – 12 พฤษภาคม 2568         
สมัครออนไลน์ >> https://www.mytcas.com

ติดตามข่าวสารการรับสมัคร

โทร. 02-576-6000 ต่อ 8244, 8245
(ในวันและเวลาราชการ)